การทำลายสถิติการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคให้กับประเทศไทย ณ กรุงเอเธนส์ 2004 โดย มนัส บุญจำนง
29 ม.ค. 2564 | บทความ

ประเทศไทยได้ 2 เหรียญในรายกายแข่งขันกีฬาชกมวยโอลิมปิคที่แอทแลนต้าในปี 1996 และที่ซิดนีย์ ในปี 2000 แต่เอเธนส์เป็นปีแห่งความโดดเด่น ในปี 2004
มนัส บุญจำนง ได้เป็นนักชกเหรียญทองโอลิมปิค คนที่ 3 ต่อจาก สมรักษ์ คำสิงห์และ วิจารณ์ พลฤทธิ์
วรพจน์ เพ็ชรคุ้ม คว้าเหรียญเงิน ในขณะที่ สุริยา ปราสาทหินพิมาย คว้าเหรียญทองแดงให้กับประเทศไทยได้อีกเหรียญ ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยสามารถสร้างนักชกที่มีฝีมือดีที่สุดในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ กรุงเอเธนส์ ในปี 2004
ก่อนรายการแข่งขันรอบคัดเลือกกีฬาโอลิมปิค กรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการจัดการแข่งขันรายการไอบ้า เวิลด์ บ็อกซิ่งแชมป์เปี่ยนชิพ 2003
เปอร์โต พรินซ์เซซ่า เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันเอเชี่ยน บ็อกซิ่ง แชมป์เปี่ยนชิพ ซึ่งเป็นการแข่งขันรอบแรกของการแข่งขันรอบคัดเลือก ก่อนที่จะเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ เอเธนส์ในปี 2004
การแข่งขันรอบคัดเลือกกีฬาโอลิมปิครอบสอง จัดขึ้นที่เมืองกวางเจา ประเทศจีน ในเดือนมีนาคม ในขณะที่ความเป็นไปได้รอบที่สามของนักชกเอเชี่ยนจัดขึ้นที่ เมืองคาราชิ ประเทศปากีสถานในเดือนพฤษภาคม
รวม 6 นักชกไทยที่สามารถผ่านรอบคัดเลือกไปแข่งขันรายการกีฬาโอลิมปิค ที่เอเธนส์ 2004 และพวกเค้าสามารถคว้ามาได้ 3 เหรียญ
ตามยุคโบราณ, กรุงเอเธนส์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งแรกในปี 1836 และอีก 108 ปีต่อมา การแข่งขันหลากหลายชนิดกีฬาก็ได้วนกลับมาจัดใหม่อีกครั้งที่เมืองหลวงของประเทศกรีซ
มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 10,625 คน ใน 301 รายการใน 28 กีฬา และ 40 ระเบียบข้อบังคับเพื่อเข้าชิงเหรียญที่เมืองหลวงของประเทศกรีซ รวมถึงการแข่งขันมวย 11 รายการ
โปรแกรมรายการการแข่งขันได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกตั้งแต่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่ลอสแองเจลลิส ปี 1984 ซึ่งหนึ่งรุ่นน้ำหนักได้ถูกตัดออกจากตารางการแข่งขัน การแข่งขันประกอบด้วย 4 ยก ยกละ 2 นาที ซึ่งเป็นครั้งที่สองหลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 2000 ที่ซิดนี่ย์
การแข่งขันชกมวยเริ่มตั้งแต่ 14 สิงหาคม และจบลงด้วยการแข่งขันวันสุดท้ายกับส่วนที่สองของรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 29 สิงหาคม การแข่งขันการชกมวยจัดที่เพอริสเทอรี่ โอลิมปิค บ็อกซิ่ง ฮอลล์ ซึ่งเปิดใช้ในปี 2004 และสามารถจุผู้เข้าชมได้ถึง 8,400 ที่นั่ง
นักชกทั้งหมด 280 คน จาก 73 ประเทศ ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่เอเธนส์ 2004
นักชกทีมคิวบาได้อันดับสูงสุดด้วย 5 เหรียญทอง ตามด้วยนักชกทีมรัสเซีย คว้าได้ 3 รายการ
ส่วนคาซัคสถาน ไทย และสหรัฐอเมริกา คว้ามาได้ชาติละ 1 เหรียญทองในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค เอเธนส์ 2004
นักชกเจ้าของเหรียญทองแดงรายการไอบ้า เวิลด์ บ็อกซิ่ง แชมป์เปี่ยนชิพ และเหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์ สุบรรณ พันโนน เปิดตัวชนะการแข่งขันในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่ซิดนี่ย์ ปี 2000 และที่เอเธนส์ นักชกวัน 26 ชาวไทยรุ่นไลท์ฟลายเวท 48 กก. พ่ายให้กับนักชกเหรียญทองแดงรายการยูโรเปี่ยน แชมป์เปี่ยนชิพ ซาลิม ซาลีมอฟ ในรอบคัดเลือกรอบแรก และเค้าก็ยังพ่ายอีกครั้งในรอบ 16 คนสุดท้ายที่ซิดนี่ย์
ยาน บาร์เทเลมี คู่ต่อสู้ชาวคิวบาในรายการไอบ้า เวิลด์ แชมป์เปี่ยนชิพชกได้ดีกว่าสุบรรณเพียงเล็กน้อย
สมจิตร จงจอหอ เคยเป็นแชมป์ไอบ้า เวิลด์รุ่นฟลายเวท 51 กก. ในปี 2003 และเขาก็เข้ามาถึงสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แข่งขันที่มีหวังชนะมากที่สุด เค้าสามารถเอาชนะนักชกแชมป์เอเชียนเกมส์ 2002 คิมกีซุก จากเกาหลีใต้ในรอบ 32 คน แต่ก็ต้องพ่ายให้กับนักชกชาวคิวบา ยูริออคิส แกมบัว
สมรักษ์ คำสิงห์ นักชกแชมป์โอลิมปิคที่แอทแลนต้า ปี 1996 ขึ้นชกในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเป็นครั้งที่ 4ที่เอเธนส์ และเค้าแพ้ให้กับเบนอย์ท กอเดท ในรุ่นเฟเธอร์เวท 57 กก.
วรพจน์ เพ็ชรคุ้ม เคยเป็นแชมป์กีฬาซีเกมส์ 2 สมัยก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่เอเธนส์ 2004 แต่เค้าไม่ค่อยได้รับความสนใจในรายการนี้ เค้าสามารถสร้างความประหลาดใจในรุ่นน้ำหนักนี้โดยการเอาชนะ คิมวอน จากเกาหลีใต้ คาวาชี่ แคชซิกัฟ จากเบรารุส เนสเตอร์ โบลัม จากไนจีเรีย และ อกาซซี่ เมมโดฟ จากอาเซอร์ไบจาน ระหว่างทางสู่รอบชิงชนะเลิศ วรพจน์ แพ้ให้กับนักชกดาวเด่นชาวคิวบา กิลเลอมอ ริกอนโด ในรอบสุดท้ายของรุ่นแบนตัมเวท 54 กก. แต่เหรียญเงินของเขาเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมในรายการที่เอเธนส์
นักชกเหรียญทองแดงรายการไอบ้า เวิลด์ แชมป์เปี่ยนชิพ นักชกหน้าใหม่ของไทย มนัส บุญจำนงค์ ได้กลายเป็น นักชกแชมป์โอลิมปิค คนที่ 3 ของประเทศ มนัสเอาชนะ สปายริดอน โลนนิดิส จากกรีซ โรเมโอ บริน จากฟิลิปปินส์ วิลลี่ เบลน แชมป์ไอบ้า เวิลด์ จากฝรั่งเศส และเอาชนะ จอร์จ โลนัท จากโรมาเนีย ในรอบรองชนะเลิศ นักชกไทยวัย 24 ปี รุ่นวอลเทอร์เวท 63.5 กก. ยังคงแข็งแกร่ง และมุ่งมัน สามารถเอาชนะ ยูเดล จอนสันในรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
สุริยา ปราสาทหินพิมาย ผ่านเข้าไปแข่งขันรายการชกชิงแชมป์โลกในปี 2002 เมื่อเค้าชนะในรายการคิงส์คัพ และได้เหรียญเงินในรายการเอเชียนเกมส์
นักชกวัย 24 ปี รุ่นมิดเดิลเวท 75 กก. เอาชนะ โยเซฟ ลูปกา จากยูกันดา ก่อนที่จะชกกับ ยาวิด ทากิเยฟ จากอาเซอร์ไบจาน ในการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นในรอบ 16 คนสุดท้าย
โอเลก มาชกิ้น นักชกจากยูเครน เคยเป็นคู่ชกที่แข่งแกรงในรอบก่อนรองชนะเลิศ แต่นักชกไทยรุ่นน้องชกได้ดีกว่าในวันนั้น
สุริยา พ่ายแพ้ในรอบรองชนะเลิศให้แก่ เกย์ดาร์เบก เกย์ดาร์บีคอฟ ผู้ชนะในที่สุด จากรัสเซีย แต่เค้าก็คว้าเหรียญทองแดงในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคไปครอง
นักชกไทยที่ประสบความสำเร็จได้เหรียญทองในปี 1991 ได้แก่ ทรงศักดิ์ แก่นท้าว 48 กก. นักชกโอลิมปิค 3 สมัย วิชัยราชานนท์ ขัดโพธิ์ 51กก. Nara Leabluak 57 กก. อรัญ นุดกลาง 60กก. ชลิต บุญสิงห์กาญ 67 กก. และ องอาจ ประเสร็จสูง 75 กก. ในบรรดานักชกไทย ผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ วิชัยราชานนท์ ขัดโพธิ์ ผู้ซึ่งได้รับเหรียญทองแดงจากการแข่งขันโอลิมปิค ที่แอดแลนต้า ปี 1996
นักชกทีมชาติไทยในรายการกีฬาโอลิมปิค 2008 ณ กรุงปักกิ่ง
48กก. สุบรรณ พันโนน
51กก. สมจิตร จงจอหอ
54กก. วรพจน์ เพ็ชรคุ้ม
57กก. สมรักษ์ คำสิงห์
64กก. มนัส บุญจำนง
75กก. สุริยา ปราสาทหินพิมาย


กลับหน้าหลัก